07 November 2012

การถ่ายภาพน้ำตก

2-3 วันก่อนได้มีโอกาสไปถ่ายภาพน้ำตก ก่อนไปก็ไม่ได้ศึกษาวิธีถ่ายภาพอะไรไป ก็ไปคิดกันสดๆ ตรงนั้น
พอกลับมาปุ๊บ ก็มาลองค้นๆว่าเค้าถ่ายกันอย่างไรให้สวย
ข้ออื่นๆ ผมก็หยวนๆ คือทำได้ตรงหรือใกล้เคียงกับที่เค้าแนะนำไว้
แต่มีอยู่ข้อนึงคือ การจัดองค์ประกอบ ผมรู้สึกว่าตัวเองมีมุมมองเดียว จัดองค์ประกอบแย่ไปนิด ก็เลยเอามาสรุปไว้ให้ตัวเองได้อ่าน เผื่อครั้งหน้าจะได้ฉุกคิดก่อนจะถ่ายรูป


การจัดองค์ประกอบภาพ 

  1. หาฉากหน้า
  2. ถ่ายหน้าตรง
  3. ใช้กฎสามส่วน
  4. วางกล้องต่ำลงหน่อย
  5. เจาะเอาเฉพาะส่วน




เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพน้ำตก ให้ได้ภาพออกมาสวยงามเหมือนภาพตามหนังสือนะครับ บทความนี้เป็นแบบข้อๆนะครับ พร้อมรูปประกอบเพื่อความเข้าใจในการการถ่ายภาพน้ำตก แบบเต็มที่นะครับ

มาเริ่มที่อุปกรณ์ที่จำเป็นก่อนนะครับ
1. ใจสู้ อันนี้สำคัญครับ เพราะบางทีต้องเดินแยอะครับ
2. กล้องซึ่งอาจจะเป็น DSLR หรือ Compact ก็ได้ แต่ว่าใช้กล้อง DSLR นั้นจะดีกว่ามากครับ
3. เลนส์ซึ่งอาจจะเป็นเลนส์มุมกว้างหรือเทเลก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้เลนส์มุมกว้างมากกว่าครับ
4. ขาตั้งกล้องที่เข็งแรง ถ้าให้ดีควรเป็นขาที่กางได้อิสระทั้ง 3 ขานะครับ
5. สายลั่นชัตเตอร์ (ถ้ามี)
6. CPL FILTER นี้จำเป็นครับ เดี๋ยวผมแสดงตัวอย่างให้ดูอีกทีนะครับ
7. ND FILTER (ถ้ามี) เอาไว้ลดปริมาณแสง
8. ของอื่นๆเช่น ถุงพลาสติก เสื้อกันฝน ที่เช็ดเลนส์

เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตก
1. ใช้ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง – การใช้ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงจะทำให้เราสามารถได้ภาพน้ำตกได้ในทุกสภาพ เช่นเราสามารถตั้งขาถ่ายบนโขดหิน หรือในกระแสน้ำได้อย่างมั่นใจ และภาพที่ออกมาจะได้ไม่สั่น ถ้าให้ดีควรเป็นขาที่กางได้อิสระทั้ง 3 ขานะครับ
2. สายลั่นชัตเตอร์ - ถ้าเป็นไปได้ใช้สายลั่นชัตเตอร์แล้วล๊อคกระจกเลนส์ทุกครั้งก่อนที่จะถ่ายภาพ เพื่อให้กล้องไม่สั่นเนื่องจากการกดชัตเตอร์ ถ้าเราไม่มีเราก็ควรจะใช้การตั้งเวลาถ่ายพร้อมไปกับการล๊อคกระจกเลนส์ทุก ครั้ง
3. ความเร็วชัตเตอร์ – การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้สายน้ำดูนุ่นมนวล โดยส่วนใหญ่แล้วผมจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เกิน 0.5 วินาทีขึ้นไปครับ

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 10 mm, F = 11, Speed = 5 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm

4. ค่ารูรับแสง - เรามักจะใช้รูรับแสงแคบเช่น f 8-16 แต่ว่าเราจะต้องไม่พยายามใช้ค่า f ที่สูงมากๆเช่น f 22 เพราะว่าจะทำให้คุณภาพภาพนั้นออกมาไม่ดีครับ การใช้ค่ารูรับแสงจะทำให้เราได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำซึ่งจะทำให้น้ำดูนุมน วลด้วย นอกจากนี้เรายังได้ภาพที่มีความชัดลึกสูงด้วยครับ
Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 10 mm, F = 13, Speed = 15 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
5. เลนส้ที่ใช้ – เลนส์ซึ่งอาจจะเป็นเลนส์มุมกว้างหรือเทเลก็ได้
ลองดูตัวอย่างจาก เลนส์มุมกว้าง เราก็สามารถจะเก็บส่วนต่างๆได้มากมาย
Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 10 mm, F = 13, Speed = 4 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
ลองดูตัวอย่างจาก เลนส์เทเล
Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 55-250 IS, 74 mm, F = 11, Speed = 1.3 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm ??? Adaptor ring
6. การวัดแสง – เนื่องจากน้ำเป็นสีขาว ส่วนใหญ่แล้วเราจะวัดแสงเฉพาะส่วนตรงที่เป็นน้ำสีขาวแล้วชดเชยแสงไปอีก 1-2 stop และถ้าให้ดีเราต้องตรวจสอบ Histrogram ด้วยว่าภาพเรานั้นไม่โอเวอร์เกินไปด้วยนะครับ
ถ้ากล้องเราไม่มีวัดแสงเฉพาะจุดเช่น EOS 400D ของผม เราก็อาศัยการดู Histrogram จากจอภาพเอาก็ได้นะครับ ซึ่งในยุคดิจิตอลนี้ทำให้เราแก้ไขข้อผิดพลาดได้ดีขึ้นครับ

Canon EOS 400D, Canon EFS 10-22, 14 mm, F = 16, Speed = 0.6 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
7. ไฟล์ภาพ – ถ้าให้ดีควรเป็น RAW ไฟล์ครับเพราะว่าเราสามารถมาแก้ไขภาพเช่นการแก้ไขสี, white balance และอื่นๆ หลังจากที่เราถ่ายภาพมาแล้วได้ง่ายขึ้นครับ
8. ISO – พยายามใช้ ISO ให้ต่ำที่สุดนะครับเช่น ISO 50, ISO 100 เป็นต้นครับ เพื่อที่จะได้ไฟล์ภาพที่คุณภาพดีและความไวชัตเตอร์ที่น้อยครับ
9. สภาพแสง – ถ้าเป็นไปได้เราควรจะถ่ายภาพน้ำตกในช่วงที่มีสภาพแสงใกล้เคียงกัน คือไม่มีความต่างของแสงมากนะครับ ลองดูตัวอย่างครับ
ความต่างแสงมาก – ภาพที่มีความต่างแสงมากๆ จะทำให้ภาพออกมาเป็นจ้ำๆ ไม่สวย
Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 19 mm, F = 11, Speed = 1 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
ความต่างแสงน้อย รอสภาพแสงอีกนิดนึงก็จะได้แบบนี้ครับ จะเห็นได้ว่าภาพที่มีความต่างแสงน้อยจะทำให้ภาพดูดีกว่า
Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 19 mm, F = 11, Speed = 1.6 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
10. ใช้ CPL FILTER ผมถือว่าการใช้ CPL FILTERนี้มีความสำคัญมากเลยนะครับเนื่องด้วยเหตุผลดังนี้ 1 – ช่วยในการตัดแสงและทำให้ภาพมีสีที่อิ่มขึ้นและ 2 – ลดความเร็วชัตเตอร์ ลองดูภาพประกอบนะครับ
ภาพแรกไม่ใช้ CPL

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 22 mm, F = 10, Speed = 2 sec, ISO 100, No CPL
ภาพที่สองใช้ CPL
จะเห็ได้ว่าภาพที่ออกมาแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ ทั้งเงาน้ำและสีสันของภาพ

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 22 mm, F = 10, Speed = 4 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
11. การจัดองค์ประกอบภาพ – ซึ่งมีหลายวิธีดีงนี้
หาฉากหน้า

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 22 mm, F = 13, Speed = 2 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
ถ่ายหน้าตรง

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 22 mm, F = 10, Speed = 6 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
ใช้กฎสามส่วน

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 10 mm, F = 13, Speed = 15 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
วางกล้องต่ำลงหน่อย

Canon EOS 400D, Lens Canon EFS 10-22, 15 mm, F = 10, Speed = 4 sec, ISO 100, CPL Hakuba 77 mm
เจาะเอาเฉพาะส่วน

Canon EOS 400D, Lens Tamron 17-50, 23 mm, F = 13, Speed = 1.3 sec, ISO 100, CPL Marumi 67 mm

สุดท้ายนี้หวังว่าบทความเล็กๆของผมคงมีประโยชน์นะครับ
แนะนำติชมได้เสมอครับ

ที่มา : photoshoppub.com