20 January 2014

ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย


ประเทศไทยมีพื้นที่ภูเขาประมาณ 150,322.45 ตารางกิโลเมตร หรือ 93,951,533 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.3 ของพื้นที่ประเทศไทย โดยมีภูเขา ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภูเขาหินปูน ภูเขาหินแกรนิต ภูเขาหินทราย มีความสูงระหว่าง 1,000 - 2,500 เมตร และมีลักษณะการกระจายตัวตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ดังนี้
    • ภาคเหนือ:  ดอยอินทนนท์  ดอยผ้าห่มปก  ดอยเชียงดาว  ดอยภูคา ดอยลังกา ดอยอ่างขาง เป็นต้น
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ภูเขียว  ภูกระดึง  ภูหลวง
    • ภาคกลาง:  ภาคตะวันออก:  เขาใหญ่  เขาสอยดาว
    • ภาคตะวันตก:  ทุ่งใหญ่/ห้วยขาแข้ง  (เทือกเขาตะนาวศรี)
    • ภาคใต้:  เขาหลวง  เขาพนมเบญจา  เขาบรรทัด  เป็นต้น
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขานี้ อาจเป็นภูเขาลูกเดียว หรือมีลักษณะต่อเนื่องกันเป็นเทือกเขาและในแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขานี้ อาจมีแหล่งธรรมชาติประเภทอื่น อยู่ด้วยเช่น น้ำตก ถ้ำ หรือ โป่งพุร้อน
จากการศึกษา โดยคณะอนุกรรมการจัดทำแผนอนุรักษ์ธรรมชาติ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบว่า แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาทั่วประเทศ มีประมาณ 1,233 แห่ง โดยเป็นภูเขา 493 แห่ง เป็นน้ำตก 405 แห่ง เป็นถ้ำ 268 แห่ง และโป่งพุร้อนอีก 67 แห่ง เฉพาะภูเขา ส่วนมาก จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก ถ้ำ และโป่งพุร้อน จะพบอยู่ทางภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ มีกระจายอยู่อย่างประปราย



ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร
ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน
ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา
ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน
ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน


ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย

ภูเขาหรือเทือกเขาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพราะไม่เพียงอุดมไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารสายสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน พืชพรรณ และนานาชนิดอีกด้วยผลประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถใช้เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศหรือใช้เป็นแนวแบ่ง เขตระหว่างภูมิภาคได้อีกด้วย เทือกเขาสำคัญในแต่ละภูมิภาคของไทยเรามีดังนี้

ภาคเหนือ

1. เทือกเขาแดนลาว : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ ตัวเทือกเขาทอดยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายังตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุม พื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดเชียงรายและตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่มีความ ยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยมีความยาวเพียง 120 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยผ้าห่มปก? ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,146 เมตร

2. เทือกเขาจอมทอง : เป็นแนวเขาที่อยู่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยไปทางตะวันตกของจังหวัด เชียงใหม่โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ดอกอินทนนท์? ซึ่งสูงถึง 2,565 เมตร นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทยด้วย

3. เทือกเขาถนนธงชัย : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์เช่นกัน โดยตั้งอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้ ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดของไทย คือมีความยาวถึง 880 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?เขาใหญ่? มีความสูงประมาณ 2,152 เมตร

4. เทือกเขาผีปันน้ำ : ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย ไล่ลงมาทางตะวันตกของจังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง มีความยาวประมาณ 412 กิโลเมตร โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ซึ่งมีความสูงราว 1,697 เมตร

5. เทือกเขาขุนดาล : เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลงมาจนถึงจังหวัดลำปาง เป็นเทือกเขาที่มีอุโมงค์รถไฟความยาว 1,326.05 เมตรลอดผ่าน ส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานี้อยู่ที่ ?ดอยลังกา? ซึ่งมีความสูง 2,031 เมตร สำหรับ ?ดอยขุนดาล? ที่รู้จักกันทั่วไปมีความสูงประมาณ 1,374 เมตรเท่านั้น

6. เทือกเขาหลวงพระบาง : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยาเลื่อนลงมาจนถึงจังหวัดพิษณุโลก มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 590 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยขุนดาล"ว

7. เทือกเขาเพชรบูรณ์ : เป็นเทือกเขาที่อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาหลวงพระบางครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือ ตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทอดตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร

2. เทือกเขาสันกำแพง : อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาดงพญาเย็น ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา และทางเหนือของจังหวัดนครนายก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีความยาวทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

3.เทือกเขาภูพาน : เป็นเทือกเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

ภาคกลาง

1. เทือกเขาดงพญาเย็น : ทอดตัวต่อเนื่องจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากจังหวัดลพบุรี ผ่านบางส่วนของนครราชสีมาจนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีบางส่วนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยอดยาวลงมาจากภาค เหนือซึ่งใช้เป็นแนวเขตระหว่างภาคเหนือและภาคกลางของไทยด้วย

ภาคตะวันออก

1. เทือกเขาจันทบุรี : ตั้งอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด จนจังหวัดจันทบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 281 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาสอยดาวใต้? ซึ่งมีความสูง 1,670 เมตร

2 .เทือกเขาบรรทัด : เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนกลางของภาค ทำหน้าที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ทางตอนเหนือของจังหวัดตราดไปจนถึงเขตอำเภอคลองใหญ่ของจังหวัดตราด เช่นเดียวกัน รวมความยาวได้ประมาณ 144 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ตรง ?เขาตะแบงใหญ่? ซึ่งสูง 914 เมตร

ภาคตะวันตก

1 เทือกเขาตะนาวศรี : เป็นแนวต่อเนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปทางใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีความยาวประมาณ 834 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีทิวเขาถนนธงชัยตอนกลางและตอนใต้เป็นแนวพรมแดนระหว่าง ไทยกับสหภาพเมียนมาร์ที่ทอดยาวมาตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงพื้นที่ในเขตภาค ตะวันตกอีกด้วย

ภาคใต้

1. เทือกเขาภูเก็ต : เป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มจากจังหวัดชุมพรทอดขนาน ไปกันชายฝั่งทะเลของชุมพร พังงา กระบี่ จนถึงจังหวัดนครราชสีธรรมราช รวมความยาวประมาณ 517 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาพนมเบญจา? ซึ่งสูง 1,397 เมตร

2. เทือกเขานครศรีธรรมราช : เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาภูเก็ตโดยเริ่มจากจังหวัดสุราษฎร์ ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง แล้วไปสิ้นสุดที่จังหวัดสตูล รวมความยาวได้ประมาณ 319 กิโลเมตร ?เขาหลวง? คือส่วนที่สูงที่สุดมีความสูงราว 1,835 เมตร

3. เทือกเขาสันกาลาคีรี : เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซียตั้งแต่บริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมความยาว 428 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ฮูลูติติปาซา? มีความสูง 1,535 เมตร


ที่มา : www.baanmaha.com 
chm-thai.onep.go.th

No comments:

Post a Comment

Comment here!